- Homepage
- เคล็ดภาวนาใน "วิถีแห่งความรู้แจ้ง" ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
บอร์ด ความรัก,เคล็ดภาวนาในquotวิถีแห่งความรู้แจ้งquotของหลวงพ่อปราโมทย์ปาโมชฺโช ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย มารคัส////นี่คือหนึ่งในหนังสือที่ชี้ทางธรรมให้แก่ผม นับแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมาความถูกต้องของคำสอนต่างๆในหนังสือเล่มนี้ดังต่อไปนี้ ได้รับการยืนยันอย่างตอกย้ำด้วยประสบการณ์โดยตรงในการภาวนาของตัวผมเอง(1) จิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น จิตต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ (หน้า 34)เพราะฉะนั้นกรรมฐานที่ดี จะต้องเป็นกรรมฐานที่ทำให้ผู้ฝึกมีจิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว(2) การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ แม้แต่ความสงบที่ได้จากการเจริญกรรมฐาน ความสงบนั้นก็ยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นเอง จิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก (หน้า 35)การฝึกแยกจิตผู้รู้(นาม) ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้(รูป) นี้คือการเจริญวิปัสสนาญาณ16 ขั้นที่หนึ่งที่เรียกว่า "นามรูปปริจเฉทญาณ" นั่นเองในภาคปฏิบัติ นอกจากผมจะใช้วิธีการเดียวกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีที่สอนให้ "ลองกลั้นลมหายใจดู แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆนั้น แล้วทำสติอยู่ตรงนั้นเรื่อยๆไป" (หน้า 36) (ตามเคล็ดหายใจ 7-7-7 ในลมปราณกรรมฐาน) แล้วผมยังใช้แนวปฏิบัติของมหาสีสยาดอในการเจริญวิปัสสนาญาณด้วย เพราะแนวทางนี้สามารถอธิบายคำสอนเชิงปริยัติเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนาญาณ16 ขั้น (โสฬสญาณ) ได้สมบูรณ์ที่สุด(3) ความสำคัญของการเจริญสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)โดยธรรมชาติแล้ว คนเรามีสติอยู่แล้วเมื่อจิตตั้งใจรู้อารมณ์ แต่มันยังไม่เป็น "สัมมาสติ" ตามคำสอนของพุทธธรรมสติจะกลายเป็น "สัมมาสติ" ได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะหรือความรู้ตัวไม่เผลอ ควบคู่ไปด้วย (หน้า 37)สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐานได้ จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" คือสัมปชัญญะที่ปราศจากโมหะหรือความหลงเท่านั้นสัมปชัญญะคือความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกวิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดในความเห็นของผมคือ การเจริญลมปราณกรรมฐาน(4) มุ่งทำให้จิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ และก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว คือทำให้ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว จนตามเห็นความเกิดดับของรูปนามอันเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ได้ เมื่อถึงจุดหนึ่งจิตของผู้ปฏิบัติจะต้องไม่จงใจรู้อารมณ์ และต้องไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่ต้องปล่อยให้จิตเดินวิปัสสนาเอง ปล่อยให้จิตทำของเขาเอง (หน้า 45)(5) ว่าด้วยการเกิดวิปัสสนูปกิเลสในหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า อันตรายของการที่แยกไม่ออกระหว่างการทำสมถะกับวิปัสสนา ก็คือการเกิดวิปัสสนูปกิเลส (หน้า 47)แต่ถ้ายึดตามคัมภีค์วิสุทธิมรรค ... วิปัสสนูปกิเลสเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับโยคี(ผู้ปฏิบัติ) ในช่วงที่เพิ่งได้ "อุทยัพพยญาณ" (วิปัสสนาญาณขั้นที่ 4ใน 16 ขั้นของโสฬสญาณ) ใหม่ๆเท่านั้นโดยที่วิปัสสนูปกิเลสคือสภาวธรรมที่เกิดมาเพื่อทำวิปัสสนาของผู้นั้นให้เศร้าหมอง คือเกิดมาเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางวิปัสสนาของผู้นั้นดังนั้นวิปัสสนูปกิเลสย่อมไม่เกิดกับพระอริยสาวกผู้ได้บรรลุมรรคผลแล้วคนที่ปฏิบัติผิดทางก็ย่อมไม่มีวันเกิดวิปัสสนูปกิเลสคนที่ทอดทิ้งกรรมฐานก็ไม่มีวันเจอวิป้สสนูปกิเลสคนที่ย่อหย่อนนการปฏิบัติก็ไม่มีโอกาสประสบกับวิปัสสนูปกิเลสเช่นกันจึงมีแต่โยคีผู้ปฏิบัติชอบ ผู้พากเพียรอย่างยิ่งยวดในกาคปฏิบัติเท่านั้นที่อาจเจอวิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ(6) ให้รู้อารมณ์เฉยๆ อย่าไปพยายามละอารมณ์นั้นเด็ดขาดเมื่อโยคีรู้อารมณ์เร็วขึ้น ชัดเจนขึ้นตามลำดับแล้ว อารมณ์ก็จะยิ่งละเอียดเข้าไปอีกตามลำดับเช่นกันเมื่ออารมณ์ละเอียดถึงที่สุด จิตจะปรากฏเหมือนว่า จิตว่างไปหมด แต่ภาวะ"จิตว่าง"นี้ ความจริงก็คืออารมณ์อีกอันหนึ่ง เพียงแต่ละเอียดถึงที่สุดเท่านั้นเอง(7) ปล่อยวาง "จิตว่าง" เข้าถึงธรรมที่แท้จริงเมื่อโยคีปฏิบัติเข้าถึงขั้นละเอียดเช่นนี้แล้ว วิปัสสนาโยคีจะต้องเจริญ "การรู้" อย่างเดียวเท่านั้น'การรู้โดยไม่คิด' นี้แหละ คือการเจริญวิปัสสนาที่แท้จริงและละเอียดที่สุดเพราะการที่จิตจะหลุดพ้นได้นั้น จิตเขาจะต้องหลุดพ้นเอง เพราะเขาเห็นความจริงของไตรลักษณ์ในที่สุดจิตจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาเองว่า "จิตว่าง" นั้นเองก็ไม่ใช่สาระแก่นสาร ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราที่จะต้องช่วยให้จิตหลุดพ้น ตราบนั้นตัณหาหรือสมุทัยก็จะสร้างภพของ "จิตว่าง" ขึ้นมาร่ำไป (หน้า 51)"พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)ในขั้นสุดท้าย ต้องปล่อยให้ "จิตปล่อยวางความยึดถือจิตอีกชั้นหนึ่ง" ....นี่คือกระบวนการที่จิตปฏิวัติตนเองขั้นสุดท้าย คือจิตปล่อยวางกระทั่งความยึดมั่นตัวจิตเองขอให้ทุกท่านที่อ่านบทความนี้ จงเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญด้วยจิตคารวะสุวินัย ภรณวลัย